วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

TCUบทบาทและการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการ

 เรื่อง บทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการ” ในประเด็นการอภิปราย รูปแบบและแนวทางการใช้สื่อทางการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต” สรุปได้ใน 3 ประเด็น ดังนี้
                   1. ประเภทของสื่อ สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต ควรมีลักษณะที่เป็นสื่อประสม มีความหลากหลายรูปแบบ หลายประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและสภาพการพัฒนาของประเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        2. กลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการบริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น ควรยึดกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้แก่ นักเรียนในระบบโรงเรียน นักศึกษานอกระบบโรงเรียน และประชาชนทั่วไป
                        3. แนวทางการใช้บริการ ในการดำเนินการให้บริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
                        3.1 การกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ตารางออกอากาศการสำรวจความต้องการในการใช้สื่อการศึกษาทางไกล และการประเมินผลการใช้สื่อ
                        3.2 การจัดศูนย์บริการสื่อในระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ทุกเวลาและมีสื่อที่หลากหลาย จำนวนเพียงพอต่อความต้องการรับบริการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
            สรุปได้ว่า การใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น สิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อจะต้องมีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของผู้ใช้สื่อ ซึ่งสื่อการศึกษาทางไกลจะต้องมีลักษณะที่หลากหลายและสะดวกในการใช้งาน สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
            4. โยงกับ พ..เนื่องจากให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และเป็นการดำเนินการจัดการศึกษาโดยส่วนกลางที่สอดคล้องกับมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) .. 2545 ซึ่งระบุไว้ในวรรค 2 ว่า
            “ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการศึกษาได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมสร้างการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้” (4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกลให้บริการการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย ด้วยระบบวิธีการเรียนแบบทางไกลด้วยตนเอง โดยอาจต้องไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางไกลจึงได้จัดบริการสื่อหลากหลายประเภทไว้ในแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษาและประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น